เปิดตำนาน แจ็คเดอะริปเปอร์ ประวัติ เมื่อสังคมและกระบวนการขัดขวางความยุติธรรม

แจ็คเดอะริปเปอร์ ประวัติ 31 สิงหาคมวันส่งท้ายเดือนที่ทำให้ผู้คนรู้สึกหลากหลาย แต่สำหรับชาวอังกฤษหลายคนอาจเป็นวันที่พวกเขาไม่มีวันลืม ด้วยนี่คือวันพบศพของเหยื่อรายแรก จากฆาตกรนามกระฉ่อน แจ๊ค เดอะ ริปเปอร์ ผู้สร้างความหวาดกลัวไปทั้งลอนดอนและประเทศอังกฤษ เหตุฆาตกรรมและการลงมือของแจ๊ค เดอะ ริปเปอร์กลายเป็นเหตุสะเทือนขวัญ จากความนองเลือดในการกระทำกับเหยื่อแต่ละราย นั่นทำให้คดีนี้อยู่ในความสนใจของผู้คนมากมาย แต่สุดท้ายก็ไม่อาจจับตัวคนร้ายได้ ทิ้งปริศนาไว้ให้เราคาใจจนทุกวันนี้ ความโด่งดังของฆาตกรรายนี้ทำให้สื่อมากมายหยิบยก นำไปใช้ในการตั้งฉายาฆาตกรต่อเนื่องมากมาย แจ๊ค เดอะ ริปเปอร์คือคนจริงผู้กลายเป็นเรื่องเล่าลี้ลับให้ผู้คนพากันคาดเดาไปต่างๆ นาๆ จนกลายเป็นสัญลักษณ์ความหวาดกลัวและขนหัวลุกไปในที่สุด แต่ก่อนเข้าใจในจุดนั้นคงต้องพูดถึงวีรกรรมของแจ๊ค เดอะ ริปเปอร์ให้ได้รู้จักกันเสียหน่อย

เปิดตำนานความโหดกับการฆาตกรรมในวันวาน แจ็คเดอะริปเปอร์ ประวัติ

แจ็คเดอะริปเปอร์ ประวัติ เหยื่อผู้ได้รับการยืนยันว่าเสียชีวิตด้วยน้ำมือแจ๊ค เดอะ ริปเปอร์มีทั้งสิ้น 5 ราย แม้มีข้อโต้แย้งว่าอาจมีมากกว่านั้นแต่ไม่ได้รับการยืนยัน เป้าหมายตกเป็นเหยื่อทั้งหมดล้วนเป็นผู้หญิง พื้นที่ลงมือจำกัดอยู่ในเขต ไวท์ชาเปล ที่เต็มไปด้วยความยากจนและเสื่อมโทรม ในส่วนรายชื่อของเหยื่อทั้งห้าได้แก่

  • แมรี่ แอนน์ นิโคลส์ หญิงวัย 42 ปี ถูกพบศพในวันที่ 31 สิงหาคม 1888
  • แอนนี แชปแมน หญิงสาวอายุ 28 ปี ถูกพบศพในวันที่ 8 กันยายน 1888
  • เอลิซาเบ็ธ สไตร์ด หญิงวัย 45 ปี ถูกพบศพในวันที่ 30 กันยายน 1888
  • แคทเทอรีน เอ็ดดอเวส หญิงวัย 46 ปี ถูกพบศพในวันที่ 30 กันยายน 1888
  • แมรี เจน เคลลี่ หญิงสาววัย 25 ปี ถูกพบศพในวันที่ 9 พฤศจิกายน 1888 เป็นคนเดียวที่ไม่ได้พบศพภายในตรอกแต่เป็นห้องพัก ก่อนฆาตกรจะหายเข้ากลีบเมฆไปตลอดกาล

เหยื่อทั้งหมดมีสภาพถูกเชือดคอจนเกือบขาด และส่วนมากถูกผ่าท้อง ตัดเฉือน ผ่าเอาอวัยวะภายในมาไว้ด้านนอก ไม่ว่าเป็นลำไส้ ตับ ไต ม้าม และมดลูก บางครั้งก็ตัดควักชิ้นส่วนในร่างกายเหยื่อมาพาดแขวนหรือวางไว้ตามที่ต่างๆ สร้างความสะพรึงกลัวให้แก่บรรดาผู้พบเห็นกลายเป็นที่โจษจันกันไปทั่ว

มีเพียงแค่เหยื่อรายที่สามอย่าง เอลิซาเบ็ธ สไตร์ด เท่านั้นที่สภาพศพไม่ได้เสียหายมาก คาดว่าคนร้ายอาจถูกขัดจังหวะหรือพบเห็นระหว่างลงมือจึงต้องถอนตัว ทิ้งไว้เพียงรอยปาดตรงลำคอและรอยช้ำตรงหัวไหล่ไม่มีร่องรอยอื่นเพิ่มเติม อาจเป็นเหตุให้มีเหยื่อสองรายในวันเดียว รวมถึงการย้ายสถานที่ก่อเหตุจากตรอกซอกซอยไปเป็นในห้องพักของเหยื่อรายที่ห้า

ผู้ต้องสงสัยกับความคลุมเครือสับสนจนถึงปัจจุบัน

แน่นอนเมื่อเป็นเหตุสะเทือนขวัญได้รับความสนใจจากสื่อ ตำรวจย่อมทำงานรวดเร็วและฉับไวขึ้นกว่าเดิมแต่ผลลัพธ์กลับมีแค่การคว้าน้ำเหลว ผู้ต้องสงสัยหลายคนขาดหลักฐานการสืบสวนเชื่อมโยง แต่ด้วยสภาพศพและวิธีการลงมือ จึงมีข้อสันนิฐานว่าคนร้ายน่าจะมีความรู้ด้านกายวิภาคเป็นพิเศษ จำนวนผู้ต้องสงสัยในคดีมีเป็นจำนวนมาก ไล่มาตั้งแต่นักศึกษาด้านการแพทย์ หมอ กะลาสีเรือ มหาเศรษฐี หรือแม้แต่ทางราชวงศ์อังกฤษ ผู้ต้องสงสัยขยายเป็นวงกว้างตามระยะเวลาที่ผ่านพ้น เช่นเดียวกับกระแสสังคมทวีความรุนแรงจากการไม่สามารถจับกุมคนร้ายได้เสียที

ความพยายามในการจับกุมดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้ต้องสงสัยบางส่วนพากันประสบปัญหา จากบันทึกหอจดหมายเหตุลอนดอนมีผู้ถูกเพ่งเล็งอยู่สี่ราย หนึ่งในนั้นฆ่าตัวตายในปลายปีเดียวกัน อีกสองคนถูกศาลตัดสินให้วิกลจริตต้องเข้าบำบัดในสถานจิตเวชช่วงปี 1889 แต่คนสุดท้าย โทมัส นีล ครีม อดีตแพทย์เป็นคนเดียวที่ถูกตัดสินประหารชีวิตโดยการแขวนคอ และแฟ้มคดีของแจ๊ค เดอะ ริปเปอร์ก็ถูกปิดไปในวันที่ 15 พฤศจิกายน 1892 กระนั้นการสืบสวนยังมีข้อกังขาอยู่มาก ทำให้เกิดการตั้งคำถามเกี่ยวกับคนร้ายขึ้นมากมาย จึงเป็นเรื่องคาใจผู้คนมาจนปัจจุบัน

“สภาพสังคมภายในอังกฤษ” คนร้ายตัวจริงผู้ช่วยให้แจ๊ค เดอะ ริปเปอร์ลอยนวล

ภายหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมอังกฤษพัฒนาความเจริญชนิดก้าวกระโดด และความรุดหน้าด้านการทหาร ทำให้อังกฤษกลายเป็นมหาอำนาจโลกยุคนั้น ครอบครองทรัพยากรมหาศาลจากการล่าอาณานิคม นำไปสู่การพัฒนาของอุตสาหกรรมจำนวนมากนำประเทศเข้าสู่ยุคใหม่ เมื่อโครงสร้างเศรษฐกิจแปรเปลี่ยนจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรมเต็มตัว ประกอบกับการเข้าสู่ยุคแห่งอุตสาหกรรมและมั่งคั่งเฟื่องฟู อาหารกินอุดมสมบูรณ์ย่อมหมายถึงการขยายตัวของจำนวนประชากรที่มากขึ้น อ้างอิงจากปี 1800 อังกฤษมีประชากรเพียง 9 ล้านคน แต่ในปี 1900 จำนวนประชากรกลับมาถึง 32.5 ล้านคน นับว่ามหาศาลแม้มีประชากรบางส่วนย้ายถิ่นฐานตั้งรกราก ไปแสวงหาโอกาสตามแผ่นดินใหม่แถบอาณานิคมแล้วก็ตาม

ผลพวงตามมาจากทั้งสองเรื่องคือการเกิดขึ้นของชนชั้นใหม่เป็นจำนวนมาก กลุ่มนี้คือชนชั้นแรงงานผู้มีวิถีชีวิตและทำมาหากินภายในเมือง แต่ด้วยกฎหมายคุ้มครองแรงงานไม่ได้ถูกร่าง การเติบโตทางอุตสาหกรรมทำลายสิ่งแวดล้อมไปมากทำให้คุณภาพชีวิตแรงงานตกต่ำ ด้วยนายจ้างไม่จำเป็นต้องเอาใสใจ่ชีวิตแรงงานจึงไม่มีสวัสดิการหรือความมั่นคงปลอดภัยใดๆ ในกรณีชนชั้นกลางหรือผู้สามารถหาเลี้ยงชีพจากงานอื่นนับว่าโชคดี ผู้หญิงที่อยู่ในยุคปลายได้รับโอกาสทางการศึกษามากขึ้นนับแต่มีพระราชบัญญัติการศึกษาในปี 1870 ทำให้ผู้หญิงเข้ามามีบทบาทหน้าที่มากขึ้นตามหน่วยงาน ก่อนเริ่มขยายตัวเป็นเรียกร้องสิทธิสตรีในช่วงต้นยุคศตวรรษที่ 20

ชนชั้นล่างกลับไม่โชคดีแบบนั้น ในยุคการอาละวาดของแจ๊ค เดอะ ริปเปอร์ พื้นที่ไวท์ชาเปลเจ้าปัญหาคือเขตเสื่อมโทรมที่สุดแห่งหนึ่งในลอนดอน เป็นชุมชนแรงงานท่าเรือแหล่งรวมผู้อพยพชาวยิวและรัสเซีย เต็มไปด้วยการมั่วสุมมอมเมา เหล้ายา รวมถึงแหล่งเที่ยวกลางคืนอยู่ทุกหัวระแหง เป็นเหตุให้เหยื่อทั้งหมดล้วนเป็นหญิงขายบริการแทบทั้งสิ้น เรื่องเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการสืบสวนของบรรดาเจ้าหน้าที่อย่างร้ายแรง เมื่อที่นี่เป็นแหล่งอโคจรผู้ยินยอมให้ข้อมูลทั้งที่รู้ความจริงย่อมไม่มากนัก ชนักติดหลังมากมายทำให้คำให้การหลายส่วนไม่ได้รับความเชื่อถือ การหาข้อมูลคนร้ายจึงเป็นไปได้ยากยิ่ง โดยเฉพาะกับเทคโนโลยีนิติวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้น

อีกส่วนที่ทำให้เรื่องราวบานปลายยุ่งเหยิงคือข่าวลือการพัวพันของชนชั้นสูง โดยเฉพาะต่อเชื้อพระวงศ์อย่าง เจ้าชายอัลเบิร์ต วิกเตอร์ คริสเตียน เอ็ดเวิร์ด พระราชนัดดาของสมเด็จราชินีนาถวิกตอเรีย หรือแพทย์ประจำพระองค์อย่าง เซอร์ จอร์น วิลเลี่ยม บ่มเพาะความขัดแย้งทำท่าลุกลามเป็นปัญหาระหว่างชนชั้น นำไปสู่การควบคุมแทรกแซงจากอำนาจทางการเมือง เมื่อ ลอร์ดซอลส์เบอรี่ นายกรัฐมนตรีอังกฤษขณะนั้นเข้ากำชับไม่ให้เชื่อมโยงคดีไปถึงราชสำนัก สิ่งเหล่านี้ทำให้การสืบหาความจริงเกี่ยวกับแจ๊ค เดอะ ริปเปอร์ล่าช้าไม่อาจระบุตัวคนร้ายได้แน่ชัด ทำให้การติดตามตัวคนร้ายเป็นเรื่องยากจนไม่สามารถทำได้ สุดท้ายแม้มีข้อสรุปออกมาแต่ด้วยความไม่อาจหาตัวผู้ก่อเหตุ จึงมีข้อโต้แย้งขึ้นมาเช่นกันว่าคดีนี้อาจมีความจริงอีกชุดถูกกลบฝังไว้ภายใต้อำนาจการเมือง

แจ๊ค เดอะ ริปเปอร์จึงกลายเป็นรอยด่างพร้อยและด้านมืดในกระบวนการยุติธรรมอังกฤษยาวนานจนถึงปัจจุบัน แจ็คเดอะริปเปอร์ ประวัติ

บทความที่น่าสนใจ